วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากหุ่นยนต์อุสาหกรรม

1. การกระแทกหรืออุบัติเหตุจากการปะทะ
การเคลื่อนไหวที่อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ ความผิดปรกติของการทำงานชิ้นส่วนต่าง ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงค่าในโปรแกรมโดยไม่ตั้งใจทำให้การทำงานของแขนกลเกิดความผิดพลาดและส่งผลกระทบกับแรงงานที่ทำงานภายใต้เงื่อนไขทั่วไปที่กำหนด ซึ่งในกรณีของการทำงานของแขนกลส่วนใหญ่จะมีการทำงานที่รวดเร็วร่วมกับน้ำหนักที่มากทำให้การปะทะกับหุ่นยนต์สามารถเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงได้
2. อวัยวะเกิดการติดค้าง
อวัยวะของผู้ปฏิบัติงานสามารถติดค้างอยู่ระหว่างมือจับของหุ่นยนต์หรือชิ้นส่วนอื่น ๆ ได้ ซึ่งหากหุ่นยนต์หยุดการทำงานอาจสร้างความวางใจได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่หากหุ่นยนต์ยังคงทำงานอยู่มีความเสี่ยงทำให้อวัยวะเสียหายเกิดการเสียหายหรือฉีกขาดได้
3. อุบัติเหตุจากชิ้นส่วนที่เสียหาย
หากหุ่นยนต์กำลังทำงานแล้วเกิดมีปัญหาชิ้นส่วนพังหรือหลุดกลางคัน เครื่องมือกลหรืออุปกรณ์ที่หุ่นยนต์ถือไว้รวมถึงแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ความอันตรายจะเพิ่มขึ้นหากเครื่องมือกลหรืออุปกรณ์ที่หุ่นยนต์หยิบจับนั้นเป็นกลุ่ม Power Tools หรือเครื่องมือที่ต้องใช้พลังงานในการทำงาน เช่น ใบมีดเจียร หัวกำจัดเศษ หัวไขสกรู หรืออุปกรณ์เชื่อม หากลองจินตนาการตอนที่หุ่นยนต์เชื่อมกำลังเหวี่ยงแขนมาแล้วหัวเชื่อมที่ยังมีไฟหลุดลอยไปสักทางคงเป็นเหตุการณ์ที่ฝังใจไปอีกนาน
4. อุบัติเหตุอื่นๆ
อุบัติเหตุอื่นๆ อาจเกิดขึ้นมาจากการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ให้พลังงานกับหุ่นยนต์หรือแรงดันของเหลวต่าง ๆ สามารถก่อให้เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดดได้ เช่น สายไฮดรอลิกแรงดันสูงที่ชำรุด หรืออุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงไฟความสว่างสูงจากการเชื่อมอาร์ค เศษโลหะที่กระจาย ฝุ่น หรือการก่อกวนจากสัญญาณวิทยุ
จะเห็นได้ว่าปัญหาหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมส่วนมากนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการบำรุงรักษาเชิงคาดาการณ์เพื่อตรวจสอบความพร้อมและซ่อมบำรุงก่อนเกิดเหตุ แต่ในกรณีของปัญหาที่เกิดจากโปรแกรมนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ที่ต้องการความระมัดระวังและการตรจสอบที่มีความรัดกุมยิ่งขึ้น

องค์ประกอบระบบควบคุมหุ่นยนต์

องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์

ในตอนแรกนี้ผู้เขียนขอทิ้งท้าย ให้ทุกท่านทราบเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์กันไว้เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมในเรื่องต่อไปในตอนหน้า สำหรับองค์ประกอบของระบบในการควบคุมหุ่นยนต์ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก คือ
  1. Programming Pendent : อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนคำสั่งโดยผู้ควบคุมหรือ User
  2. Controller : ส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับคำสั่งจาก User ผ่าน Programming Pendant และนำมาประมาณผล เพื่อทำการควบคุมหรือสั่งการทำงานของหุ่นยนต์
  3. Manipulator : เรียกง่ายๆ ว่า ตัวหุ่นยนต์ ที่จะทำงานตามคำสั่งที่ผ่านการประมวลผลจาก Controller

องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์
รูปที่ 2 : องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์

จากรูปที่ 2 ที่แสดงด้านบนนั้นเป็นองค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนหลัก และจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบทั้ง 3 นั้น จะมีความสัมพันธ์กันในกระบวนการควบคุมซึ่งในแต่ละส่วนนั้นก็มีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนอยู่มากทีเดียวและนี่จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องทำความรู้จักกับมันให้มากเพื่อที่จะได้สามารถทำงานร่วมกับมันได้

ความสามารถในงานอุตสาหกรรม

ความสามารถในงานอุตสาหกรรมแก้ไข

หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มจำนวนสูงขึ้น และงานอุตสาหกรรมบางงานไม่สามารถที่จะใช้แรงงงานเข้าไปทำได้ ซึ่งบางงานนั้นอันตรายและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก หรือเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตรวมทั้งเป็นการประหยัดระยะเวลา ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นทางออกของงานด้านอุตสาหกรรม

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562

กิจกรรม

เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน

ตอนที่ ๑ ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

                ๑. หากนักเรียนต้องเลือกเพื่อนในห้องเพื่อไปนำเสนอโครงการเกมรักเธอประเทศไทยต่อคณะกรรมการตัดสินการประกวดซอฟต์แวร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ๓ คน โดยแต่ละคนมีหน้าที่ดังนี้ คนที่ ๑ นำเสนอสไลด์ที่่  ๑-๓ คนที่ ๒ นำเสนอสไลด์ทีี่ ๔-๑๓ และคนทีที่ ๓ ควบคุมการดำเนินเรื่องที่เครื่องคอมพิวเตอร์ นักเรียนจะเลือกใครทำหน้าที่ดังกล่าว เพราะเหตุใด
Ans     คนที่ ๑ คือ นางสาวณิชาภัทร เจริญสุข เพราะว่า คนนี้เค้าจะมีการเตรียมตัวที่ดีกว่าคนอื่น และอธิบายเข้าใจง่ายกว่าคนอื่นๆ
            คนที่ ๒ คือ นางสาวสุกัญญา  พรมแสง เพราะว่า อธิบายได้น่าสนใจทำให้ผู้ฟังสนใจได้
             คนที่ ๓ คือ นางสาวชลดา ทองสา เพราะว่า สามารถแนะนำสิ่งต่างๆได้ดี

             ๒.ซอฟแวร์นำเสนอ(Presentation Software)คืออะไร จงยกตัวอย่างซอฟแวร์กรรมสิทธิ์และซอฟแวร์เปิดเผยรหัสที่นำมาเป็นซอฟแวร์นำเสนอ อย่างละ ๑ ตัวอย่าง
 Ans    ซอฟแวร์นำเสนอ คือ ป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการนำเสนอ ช่วยให้การนำเสนอทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถสร้างสไลด์ที่ประกอบด้วย ตัวอักษร รูปภาพ กราฟ แผนภูมิ ตาราง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถตกแต่งและนำเสนอสไลด์ด้วยรูปแบบต่าง ๆ 
  •      ซอฟแวร์กรรมสิทธิ์ ได้แก่ ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์  โลตัสฟรีแลนซ์กราฟิก โครเรล พรีเซ็นเทชัน กราฟิก 
  •      ซอฟแวร์เปิดเผยรหัส  ได้แก่ โอเพน ออฟฟิศ ปลาดาวออฟฟิศ อิอมเพรส
              ๓. ซอฟแวร์กราฟิก แอนิเมชัน และมัลติมีเดีย คืออะไร  จงยกตัวอย่างซอฟแวร์กรรมสิทธิ์และซอฟแวร์เปิดเผยรหัสที่เป็นซอฟแวร์กราฟิก แอนิเมชัน และมัลติมีเดียซอฟแวร์ละ ๑ ตัวอย่าง
และซอฟแวร์เปิดเผยรหัสที่นำมาเป็นซอฟแวร์นำเสนอ อย่างละ ๑ ตัวอย่าง
Ans    ซอฟแวร์กราฟิก แอนิเมชัน และมัลติมีเดีย คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการตกแต่งภาพและการสร้างภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำภาพหรือภาพเคลื่อนไหวดังกล่าวไปใช้ในซอฟต์แวร์นำเสนอ
  •     ซอฟแวร์กรรมสิทธิ์ที่เป็นซอฟแวร์กราฟิก แอนิเมชัน และมัลติมีเดียซอฟแวร์   ได้แก่ อะโดบี โฟโต้ชอป  อะโดบี แฟลช
  •      ซอฟแวร์เปิดเผยรหัสที่นำมาเป็นซอฟแวร์นำเสนอ   ได้แก่กิมป์ สวิชแมกซ์ เบลนเดอร์ มัลติมิเดีย 
                 ๔. อุปกรณ์แสดงผลคืออะไร จงยกตัวอย่างอุปกรณ์แสดงผลมา ๒ อุปกรณ์ พร้อมทั้งอธิบายความสามารถของอุปกรณ์ดังกล่าว
Ans    อุปกรณ์แสดงผล คือ ป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการแสดงข้อมูล ที่ได้รับการประมวลผลแล้วข้อมูลที่แสดงออกมาทางอุปกรณ์แสดงผลชนิดต่างๆ นั้น มีทั้งในรูปแบบของข้อความ ภาพ เสียง   เช่น     
  • เครื่องฉายภาพ คือ เป็นอุปกรณ์สำหรับฉายภาพจากสัญญาณวิดีโอ ผ่านระบบเลนส์ไปยังฉากรับภาพ โดยใช้ไฟที่สว่างและจ้าในการฉายภาพ โดยเครื่องฉายภาพรุ่นใหม่ สามารถแก้ไข ส่วนโค้งเว้า ความคมชัด ส่วนประกอบของภาพ และอื่น ๆ ด้วยการปรับโดยผู้ใช้เอง
  •    กระดานอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกระดานดำ (Blackboard/Chalkboard) หรือกระดานไวท์บอร์ด (Whiteboard) ซึ่งครูผู้สอนใช้สำหรับนำเสนอข้อมูลให้กับนักเรียนในห้องเรียน กระดานอิเล็กทรอนิกส์เป็นกระดานสมัยใหม่ซึ่งใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับควบ คุมการทำงานทำให้มีความสามารถมากกว่ากระดาน
               ๕.อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการนำเสนองานมีประโยชน์อย่างไร จงยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการนำเสนองานมา ๒ อุปกรณ์ พร้อมทั้งอธิบายความสามารถของอุปกรณ์ดังกล่าว
Ans    ช่วยให้การนำเสนอสะดวกสบายแก่ผู้นำเสนอ
                 อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการนำเสนองาน เช่น
  •      รีโมท (remote mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของอุปกร์ไร้สาย โดยกดผ่านเมาส์ที่เป็นรีโมทของเครื่องฉายภาพแทนการกดที่เครื่องคอมพิวเตอร์
  •    เลเซอร์พอยต์เตอร์ (laser pointer) เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งด้วยแสงเลเซอร์ไปยังงานนำเสนอ ทำให้การนำเสนองานมีความชัดเจนมากขึ้น สามารถชี้สิ่งที่กำลังจะนำเสนอให้ผู้รับสารเห็นได้อย่างชัดเจน



น.ส. รุ้งนภา พิมมาลา ม.3/ 7 เลขที่ 33

ข้อดีข้อเสียของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

1. Cartesian (Gantry) Robot
ข้อดี 
1. เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงทั้ง 3 มิติ
2. การเคลื่อนที่สามารถทำความเข้าใจง่าย
3. มีส่วนประกอบง่ายๆ
4. โครงสร้างแข็งแรงตลอดการเคลื่อนที่

ข้อเสีย
1. ต้องการพื้นที่ติดตั้งมาก
2. บริเวณที่หุ่นยนต์เข้าไปทำงานได้ จะเล็กกว่าขนาดของตัวหุ่นยนต์
3. ไม่สามารถเข้าถึงวัตถุจากทิศทางข้างใต้ได้
4. แกนแบบเชิงเส้นจะ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลวได้ยาก
2. Cylindrical Robot
ข้อดี
1. มีส่วนประกอบไม่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
3. สามารถเข้าถึงเครื่องจักรที่มีการเปิด – ปิด หรือเข้าไปในบริเวณที่เป็นช่องหรือโพรงได้ง่าย (Loading) เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าเครื่อง CNC
ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. แกนที่เป็นเชิงเส้นมีความยุ่งยากในการ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลว
3. Spherical Robot (Polar
ข้อดี
1. มีปริมาตรการทำงานมากขึ้นเนื่องจากการหมุนของแกนที่ 2 (ไหล่)
2. สามาร
ข้อดี
1. เนื่องจากทุกแกนจะเคลื่อนที่ในลักษณะ ของการหมุนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเข้าไปยังจุดต่างๆ
2. บริเวณข้อต่อ (Joint) สามารถ Seal เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือน้ำ ได้ง่าย
3. มีพื้นที่การทำงานมาก
4. สามารถเข้าถึงชิ้นงานทั้งจากด้านบน ด้านล่าง
5. เหมาะกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นชุดขับเคลื่อน
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมทำความ เข้าใจได้ยากขึ้น
3. ควบคุมให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear) ได้ยาก
4.โครงสร้างไม่มั่นคงตลอดช่วงการเคลื่อนที่ เพราะบริเวณขอบ Work Envelope ปลายแขนจะ
5. มีการสั่น ทำให้ความแม่ยำลดลง
ถที่จะก้มลงมาจับชิ้นงานบนพื้นได้สะดวก
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) และส่วนประกอบ ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมมีความซับซ้อนขึ้น
4. SCARA Robot
ข้อดี
1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว
2. มีความแม่นยำสูง
ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. ไม่สามารถหมุน (rotation)ในลักษณะมุมต่างๆได้
3. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนัก
5. Articulated Arm (Revolute)
ข้อดี
1. เนื่องจากทุกแกนจะเคลื่อนที่ในลักษณะ ของการหมุนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเข้าไปยังจุดต่างๆ
2. บริเวณข้อต่อ (Joint) สามารถ Seal เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือน้ำ ได้ง่าย
3. มีพื้นที่การทำงานมาก
4. สามารถเข้าถึงชิ้นงานทั้งจากด้านบน ด้านล่าง
5. เหมาะกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นชุดขับเคลื่อน
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมทำความ เข้าใจได้ยากขึ้น
3. ควบคุมให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear) ได้ยาก
4.โครงสร้างไม่มั่นคงตลอดช่วงการเคลื่อนที่ เพราะบริเวณขอบ Work Envelope ปลายแขนจะ
5. มีการสั่น ทำให้ความแม่ยำลดลง

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot Type) 
อุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation Technology) เข้ามาใช้งานเพื่อให้สินค้าสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ทั้งในเรื่องราคา และคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ อาจเนื่องจากมีการเปลี่ยนรุ่นผลิตภัณฑ์อยู่บ่อยๆ ต้องใช้เวลาในการ Set Up ปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง ได้แก่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เนื่องจากการเปลี่ยนการทำงานสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนโปรแกรม นอกจากนี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสม่ำเสมอเป็นมาตรฐานเดียวกัน
การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเลียนแบบร่างกายของมนุษย์ โดยจะเลียนแบบเฉพาะส่วนของร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเท่านั้น นั่นคือช่วงแขนของมนุษย์ ดังนั้น บางคนอาจจะได้ยินคำว่า “แขนกล” ซึ่งก็หมายถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับแขนมนุษย์ แสดงดังรูป
ปัจจุบันและในอนาคตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยจะทำงานแทนมนุษย์ในงานต่างๆ เหล่านี้งานที่อันตราย เช่น งานยกเหล็กเข้าเตาหลอม งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี งานซ้ำซากน่าเบื่อ เช่น งานยกสินค้าจากสายงานการผลิต งานประกอบ งานบรรจุผลิตภัณฑ์งานที่ต้องการคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน เช่น งานเชื่อม งานตัด งานที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญสูง เช่น งานเชื่อมแนว เชื่อมเลเซอร์ งานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีต เช่น งานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ งานตรวจสอบ (Inspection) ฯลฯ
หุ่นยนต์ คือ เครื่องจักรที่ถูกควบคุมอัตโนมัติ สามารถเขียนโปรแกรมใหม่ได้ ใช้งานเอนกประสงค์ โปรแกรมการเคลื่อนที่จะต้องสามารถโปรแกรมให้เคลื่อนที่ได้อย่างน้อย 3 แกนหรือมากกว่า หุ่นยนต์อาจจะยึดอยู่กับที่หรือย้ายตำแหน่ง (Mobile) เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม
การแบ่งชนิดของหุ่นยนต์
โดยทั่วไปการแบ่งชนิดของหุ่นยนต์จะแบ่งตามลักษณะรูปทรงของพื้นที่ทำงาน (Envelope Geometric) แต่ก่อนจะอธิบายชนิดของหุ่นยนต์ขออธิบายการทำงานของจุดต่อ (Joint) ของหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมซึ่งในขั้นพื้นฐานมี 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
จุดต่อ (Joint) ทั้งสองแบบเมื่อนำมาต่อเข้าด้วยกันอย่างน้อย 3 แกนหลักจะได้พื้นที่ทำงาน (Work envelope) ที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถนำมาแบ่งชนิดของหุ่นยนต์ได้ดังต่อไปนี้
1. Cartesian (Gantry) Robot
แกนทั้ง 3 ของหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่เป็นแบบเชิงเส้น (Prismatic) ถ้าโครงสร้างมีลักษณะคล้าย Overhead Crane จะเรียกว่าเป็นหุ่นยนต์ชนิด Gantry แต่ถ้าหุ่นยนต์ไม่มีขาตั้งหรือขาเป็นแบบอื่น เรียกว่า ชนิด Cartesian
2. Cylindrical Robot
หุ่นยนต์ประเภทนี้จะมีแกนที่ 2 (ไหล่) และแกนที่ 3 (ข้อศอก) เป็นแบบ Prismatic ส่วนแกนที่ 1 (เอว) จะเป็นแบบหมุน (Revolute) ทำให้การเคลื่อนที่ได้พื้นที่การทำงานเป็นรูปทรงกระบอก ดังรูป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
เนื้อหาจาก:https://www.applicadthai.com/articl