วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากหุ่นยนต์อุสาหกรรม

1. การกระแทกหรืออุบัติเหตุจากการปะทะ
การเคลื่อนไหวที่อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ ความผิดปรกติของการทำงานชิ้นส่วนต่าง ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงค่าในโปรแกรมโดยไม่ตั้งใจทำให้การทำงานของแขนกลเกิดความผิดพลาดและส่งผลกระทบกับแรงงานที่ทำงานภายใต้เงื่อนไขทั่วไปที่กำหนด ซึ่งในกรณีของการทำงานของแขนกลส่วนใหญ่จะมีการทำงานที่รวดเร็วร่วมกับน้ำหนักที่มากทำให้การปะทะกับหุ่นยนต์สามารถเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงได้
2. อวัยวะเกิดการติดค้าง
อวัยวะของผู้ปฏิบัติงานสามารถติดค้างอยู่ระหว่างมือจับของหุ่นยนต์หรือชิ้นส่วนอื่น ๆ ได้ ซึ่งหากหุ่นยนต์หยุดการทำงานอาจสร้างความวางใจได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่หากหุ่นยนต์ยังคงทำงานอยู่มีความเสี่ยงทำให้อวัยวะเสียหายเกิดการเสียหายหรือฉีกขาดได้
3. อุบัติเหตุจากชิ้นส่วนที่เสียหาย
หากหุ่นยนต์กำลังทำงานแล้วเกิดมีปัญหาชิ้นส่วนพังหรือหลุดกลางคัน เครื่องมือกลหรืออุปกรณ์ที่หุ่นยนต์ถือไว้รวมถึงแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ความอันตรายจะเพิ่มขึ้นหากเครื่องมือกลหรืออุปกรณ์ที่หุ่นยนต์หยิบจับนั้นเป็นกลุ่ม Power Tools หรือเครื่องมือที่ต้องใช้พลังงานในการทำงาน เช่น ใบมีดเจียร หัวกำจัดเศษ หัวไขสกรู หรืออุปกรณ์เชื่อม หากลองจินตนาการตอนที่หุ่นยนต์เชื่อมกำลังเหวี่ยงแขนมาแล้วหัวเชื่อมที่ยังมีไฟหลุดลอยไปสักทางคงเป็นเหตุการณ์ที่ฝังใจไปอีกนาน
4. อุบัติเหตุอื่นๆ
อุบัติเหตุอื่นๆ อาจเกิดขึ้นมาจากการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ให้พลังงานกับหุ่นยนต์หรือแรงดันของเหลวต่าง ๆ สามารถก่อให้เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดดได้ เช่น สายไฮดรอลิกแรงดันสูงที่ชำรุด หรืออุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงไฟความสว่างสูงจากการเชื่อมอาร์ค เศษโลหะที่กระจาย ฝุ่น หรือการก่อกวนจากสัญญาณวิทยุ
จะเห็นได้ว่าปัญหาหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมส่วนมากนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการบำรุงรักษาเชิงคาดาการณ์เพื่อตรวจสอบความพร้อมและซ่อมบำรุงก่อนเกิดเหตุ แต่ในกรณีของปัญหาที่เกิดจากโปรแกรมนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ที่ต้องการความระมัดระวังและการตรจสอบที่มีความรัดกุมยิ่งขึ้น

องค์ประกอบระบบควบคุมหุ่นยนต์

องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์

ในตอนแรกนี้ผู้เขียนขอทิ้งท้าย ให้ทุกท่านทราบเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์กันไว้เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมในเรื่องต่อไปในตอนหน้า สำหรับองค์ประกอบของระบบในการควบคุมหุ่นยนต์ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก คือ
  1. Programming Pendent : อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนคำสั่งโดยผู้ควบคุมหรือ User
  2. Controller : ส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับคำสั่งจาก User ผ่าน Programming Pendant และนำมาประมาณผล เพื่อทำการควบคุมหรือสั่งการทำงานของหุ่นยนต์
  3. Manipulator : เรียกง่ายๆ ว่า ตัวหุ่นยนต์ ที่จะทำงานตามคำสั่งที่ผ่านการประมวลผลจาก Controller

องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์
รูปที่ 2 : องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์

จากรูปที่ 2 ที่แสดงด้านบนนั้นเป็นองค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนหลัก และจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบทั้ง 3 นั้น จะมีความสัมพันธ์กันในกระบวนการควบคุมซึ่งในแต่ละส่วนนั้นก็มีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนอยู่มากทีเดียวและนี่จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องทำความรู้จักกับมันให้มากเพื่อที่จะได้สามารถทำงานร่วมกับมันได้

ความสามารถในงานอุตสาหกรรม

ความสามารถในงานอุตสาหกรรมแก้ไข

หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มจำนวนสูงขึ้น และงานอุตสาหกรรมบางงานไม่สามารถที่จะใช้แรงงงานเข้าไปทำได้ ซึ่งบางงานนั้นอันตรายและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก หรือเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตรวมทั้งเป็นการประหยัดระยะเวลา ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นทางออกของงานด้านอุตสาหกรรม